ชื่อแหล่ง : ปราสาทภูมิโปน Prasat Pumi Pone
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3713
ที่อยู่
บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°33′00″ องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°52′48″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทอิฐ
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 13 (ไพรกเมง)
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
1.0 องศาตะวันออก
ความสาคัญของแหล่ง
ชื่อปราสาทแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อภาษาเขมร 2 คำ คือ “ภูมิ” ซึ่งในภาษาเขมรออกเสียงว่า “ปูม” หมายถึง แผ่นดินหรือสถานที่ และ “ปูน” ซึ่งออกเสียงว่า โปน แปลว่า หลบซ่อน รวมความแล้วมีความหมายว่า “ที่หลบซ่อน” จากความหมายของชื่อมีความสัมพันธ์กับนิทานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับปราสาทแห่งนี้ คือเรื่อง “เนียงเด๊าะทม” แปลว่า นางนมใหญ่ ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แต่ถูกนำมาพักอาศัย ณ เมืองนี้เพื่อหลบหนีภัยสงคราม
ปราสาทภูมิโปน ประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 หลัง และฐานปราสาทศิลาแลงอีก 1 หลัง ตั้งเรียงกันจากเหนือไปใต้ ปราสาทอิฐองค์ที่ 3 ซึ่งเป็นปรางค์ประธาน เป็นปราสาทหลังใหญ่ ก่อด้วยอิฐไม่สอปูน มีเสาประดับกรอบประตูและทับหลังทำด้วยหินทราย ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปมีลายรูปใบไม้ม้วน รูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างปราสาทประธานเทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทหลังที่ 1 และเมื่อกรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่ง ได้พบจารึกภาษาสันสกฤต อักษรปัลลวะ ซึ่งเคยใช้ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 ซึ่งถือเป็นจารึกรุ่นแรก ๆ (ส่วนจารึกที่ระบุศักราชชัดเจนเท่าที่พบในประเทศไทยที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุด คือ จารึกเขาน้อย อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1180 และจารึกเขาวัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พุทธศักราช 1182) สอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาทนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นจังหวัดที่พบศิลาจารึกอักษรปัลลวะ-สันสกฤต ส่วนฐานปราสาทศิลาแลงและปราสาทหลังที่ 2 เป็นการสร้างในสมัยต่อมา ไม่อาจกำหนดอายุได้ชัดเจน
หลักฐานทางโบราณคดี
- ตัวปราสาท 4 หลัง
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทภูมิโปน เป็นปราสาทอีกปราสาทหนึ่งที่อยู่บนเส้นทางเรืองอำนาจของขอม เป็นปราสาทที่อยู่ในบริเวณที่ชุมชน ลักษณะทางกายภาพ สมบูรณ์ ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากกรมศิลปากร ร่วมกับชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริม ทั้งด้านความสำคัญ และด้านการท่องเที่ยว มีกิจกรรม เทศกาลต่างๆ ประจำที่จัดขึ้นบริเวณปราสาท ชุมชนได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ด้านวัฒนธรรม สร้างให้เกิดแนวคิดคุณค่าของปราสาท ผ่านพืธีกรรม เทศกาลต่างๆ เกิดวัฒนธรรมจากการสื่อความหมายของปราสาท ผ่านขบวนการพัฒนา ส่งเสริมด้านการท่องเทียว การประชาสัมพันธ์ เกิดการท่องเที่ยว สร้างธุรกิจ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์