slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor 2024
SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR
Prasat Surin

เกี่ยวกับเรา :

หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ทั้ง ๗6 จังหวัด จะมีทิศทางการดำเนินงานในรูปแบบเดียวกัน ประกอบด้วย การอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนา ประสานงาน ติดตามและตรวจสอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. การอนุรักษ์ :
๑) ดูแลตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ในท้องถิ่น เพื่อป้องกันมิให้ถูกบุกรุก ทำลาย เสียหาย เสื่อมโทรม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมโดยประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบและประชาชนในพื้นที่
๒) เก็บรวบรวมและจัดทำข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งธรรมชาติและแหล่งศิลปกรรม ตลอดจน สภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ ประกอบด้วย สภาพปัจจุบัน ผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น และส่งรายงานให้ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม และแหล่งชุมชนโบราณ สผ.
2. การส่งเสริม :
๑) สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ในแต่ละท้องถิ่นอย่างถูกวิธี เป็นระบบ และเหมาะสมตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
๒) สนับสนุนให้มีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น หรือขยายเครือข่ายในแต่ละชุมชน เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีสำนึกในการเป็นเจ้าของสมบัติของชาติ ร่วมกันในการปกป้อง คุ้มครอง ดูแล รักษาและฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
3. การพัฒนา :
๑) ผลักดันให้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม เป็นงานส่วนหนึ่งของการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมประชาชนในท้องถิ่น ให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และประสานประโยชน์สูงสุด ให้แก่ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติในอนาคต
๒) ประสานในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ร่วมกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้แผนพัฒนาจังหวัดหรือท้องถิ่น และแผนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้สอดคล้องกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริง
4. การประสานงาน :
๑) หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น และสำนักงานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ คณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัด ควรจัดให้มีการประชุมคณะอนุกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง และส่งรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ทุกครั้งให้ สผ. เพื่อให้การประสานงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๒) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปี ส่งให้ สผ. เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นประจำปี
๓) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด เพื่อเป็นการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม
5. การติดตามตรวจสอบ :
๑) หากตรวจพบหรือทราบข้อมูลที่ตั้งแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งศิลปกรรมอันควรค่าแก่การอนุรักษ์กำลังจะถูกบุกรุก หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่จะถูกทำลายให้เกิดความเสียหายและหมดสภาพ โดยคาดว่าแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งศิลปกรรมนั้น อาจได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม ควรนำประเด็นปัญหาและแนวทางป้องกันแก้ไขเสนอต่อคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมประจำจังหวัดนั้นๆ
๒) การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น ควรศึกษา วิเคราะห์ สาเหตุของปัญหาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมรายละเอียดข้อมูลในเบื้องต้น ให้ได้ข้อสรุปและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสมทางด้านวิชาการ สามารถนำไปสู่การขั้นตอนในการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯ ประจำจังหวัด ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปตามกระบวนการบริหารงานระดับจังหวัดสัมฤทธิ์ผล