ชื่อแหล่ง : ปราสาทยายเหงา Prasat Yai Ngao

ขึ้นทะเบียน

08-03-2478

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3713

ที่อยู่

บ้านสังขะ ตำบลสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°37′12″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°53′24″ องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทอิฐ

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 16-17

วัตถุประสงค์

เทวสถาน

ทิศทางการวางตัว

8.3 องศาตะวันตก

ความสาคัญของแหล่ง

ห่างจากที่ว่าการอำเภอสังขะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ4 กิโลเมตรอยู่ริมถนนสายโชคชัย-เดชอุดม (ทางหลวงหมายเลข 24) ระหว่าง กม. 189-190 แยกไปตามทางลูกรังอีก800 เมตรเป็นศาสนสถานแบบขอมที่ประกอบด้วยปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่เรียงกันในแนวทิศเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง มีการแกะสลักอิฐเป็นลวดลายเช่นที่กรอบหน้าบัน เป็นรูปมกร (สัตว์ผสมระหว่างสิงห์ ช้าง และปลา) คาบนาคห้าเศียร จากลักษณะแผนผังของอาคารน่าจะประกอบด้วยปราสาท 3 องค์ตั้งเรียงกัน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 องค์ บริเวณปราสาทพบกลีบขนุนยอดปรางค์ เสาประดับกรอบประตู แกะสลักจากหินทราย จัดแสดงไว้ด้านหน้าปราสาท

หลักฐานทางโบราณคดี

1.ตัวปราสาท  2.ระเบียงคต   3.ซุ้มโคปุระ

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาทยายเหงา เป็นปราสาทหนึ่งอยู่เส้นทางความเจริญของขอม ลักษณะด้านกายภาพในปัจจุบันยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร ทำให้ยังคงรูปแบบตัวปราสาทให้เห็นได้ ในปัจจุบัน และที่ตั้งอยู่กับบริเวณวัดทำให้มีการดูแลอย่างเหมาะสม มีการดูแลสภาพภูมิทัศน์ของตัวปราสาทและบริเวณโดยรอบปราสาท ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยว และกิจกรรมทางศาสนาเป็นครั้งคราว ด้านวัฒนธรรม ผลจากตัวปราสาทที่อยู่บริเวณวัดส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงกับตัวปราสาทในเชิงความเชื่อทางศาสนา ปราสาทเครื่องบวงสรวงบูชาต่างๆ ของผู้ศรัทธาเลื่อมใส นำมาบูชามากมาย มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาในพื้นที่ปราสาท เกิดการส่งเสริมด้านศาสนา ทำให้เกิดความเชื่อ มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาสการะปราสาทอยู่เสมอ ถึงแม้ที่ตั้งจะอยู่ห้างจากถนนหลัก และบางส่วนป้ายระบุที่ตั้งก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

แผนที่

อัลบั้มภาพ