ชื่อแหล่ง : ปราสาทบ้านพลวง Prasat Ban Pruang
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3712
ที่อยู่
บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°36′36″องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°25′48″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทหินทราย
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน)
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
8.4 องศาตะวันตก
ความสาคัญของแหล่ง
ลักษณะเป็นปราสาทศิลาแลงย่อมุม ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู(จากลักษณะของฐาน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า อาจมีปราสาทตั้งอยู่บนฐานได้อีก 2 หลัง) องค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม จําหลักลายงดงามมาก แต่องค์ ปรางค์เหลือเพียงครึ่งเดียว ส่วนยอดหักหายไปทางด้านทิศตะวันออกมีประตูทางเข้ากรอบประตูทำด้วยหินทราย ทับหลังสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปสลักเป็นภาพพระกฤษณะยกภูเขาโควรรธนะ ทับหลังด้านทิศเหนือเป็นรูปพระกฤษณะกำลังต่อสู้กับนาคกาลียะ ถือเป็นประติมากรรมล้ำค่าของ จ.สุรินทร์ จากลักษณะปราสาทและลวดลายเครื่องประดับสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เนื่องจากลักษณะของปราสาทและลวดลายประดับคล้ายกับปรางค์น้อยที่ปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศิลปะขอมแบบบาปวน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า48)
หลักฐานทางโบราณคดี
ปราสาทบ้านพลวงได้รับการบูรณะด้วยวิธีอนัสติโลซิสเมื่อปี พ.ศ.2514-2516 โดยนายแวนส์ เรย์ ซิลเดรส(Childress R. Vance) นักศึกษาปริญญาเอกแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา โดยได้รับความช่วยเหลือจากกรมศิลปากร จากการบูรณะไม่ปรากฏร่องรอยของส่วนหลังคาปราสาทแต่อย่างใด พบเพียงกลีบขนุนสลักเป็นรูปนาค 5 เศียรเพียงชิ้นเดียว ซึ่งยังแกะสลักไม่เสร็จเรียบร้อยดี ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ประกอบกับทับหลังและหน้าบันทางด้านทิศตะวันตกที่ยังไม่แกะสลัก จึงสันนิษฐานว่าปราสาทบ้านพลวงน่าจะเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และได้พบเศษภาชนะดินเผาแบบเครื่องถ้วยเขมรจำนวนมาก ทั้งจากแหล่งเตาพนมกุเลน แหล่งเตาบุรีรัมย์ เครื่องถ้วยชนิดไม่เคลือบแบบลีเดอแวง (Lie de Vin)ต่อมาปี พ.ศ.2535 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะอีกครั้ง พบเครื่องถ้วยลพบุรี เคลือบสีเขียวและสีดำหรือนํ้าตาล ประเภทแจกัน คนโท ไห ครก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
1.ตัวปราสาท 2.ทับหลัง 3.หน้าบาน 4.สระบาราย
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทบ้านพลวง เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ใจกลางที่อยู่อาศัยของชุมชน ด้านลักษณะทางกายภาพ ตัวปราสาทยังคงความเก่าแก่ ยังไม่ทรุดโทรม ป้ายระบุตำแหน่ง การจัดการภูมิทัศน์จัดการได้อย่างเหมาะสม จากกรมศิลปากร และชุมชน จากความได้เปรียบเรื่องที่ตั้งส่งผลในการจัดการ ส่งเสริม การอนุรักษ์ การประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดกิจกรรมทั้งด้านการอนุรักษ์และพัฒนาจากชุมชน ด้านวัฒนธรรม ผลจากการส่งเสริม การอนุรักษ์ การพัฒนา สร้างความสำนึกร่วมของชุมชนเรื่องความเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ให้เกิดการสงวนรักษา ควบคู่กับการพัฒนาแหล่งที่จะเกิดขึ้นจากการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างกิจกรรมต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนเป็นหลัก