ชื่อแหล่ง : ปราสาทหมอนเจริญ Prasat Mhon Charoen
ขึ้นทะเบียน
30-11-0542
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ไม่มี
ที่อยู่
บ้านหมอนเจริญ ตำาบลกาบเชิง อำาเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ 32210
ละติจูด
14.499099
ลองจิจูด
103.556722
ประเภท
สิ้นสภาพ (ฐานศิลาแลง)
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 16-17
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
ไม่มี
ความสาคัญของแหล่ง
พบหลักฐานเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ที่สำคัญคือก้อนศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่มาก อาจเป็นวัสดุเตรียมการสำหรับการก่อสร้างปราสาท จึงทำาให้อาจสันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะอยู่ระหว่างการก่อสร้างคือการประกอบหินเป็นตัวปราสาท ยังไม่มีการแกะสลักลวดลายใดๆ โดยที่มีการนำาฐานประติมากรรมรูปเคารพมาติดตั้งไว้แล้ว ปราสาทหมอนเจริญจึงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้พบหลักฐานเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ที่สำคัญคือก้อนศิลาทรายที่มีขนาดใหญ่มาก อาจเป็นวัสดุเตรียมการสำหรับการก่อสร้างปราสาท จึงทำาให้อาจสันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะอยู่ระหว่างการก่อสร้างคือการประกอบหินเป็นตัวปราสาท ยังไม่มีการแกะสลักลวดลายใดๆ โดยที่มีการนำาฐานประติมากรรมรูปเคารพมาติดตั้งไว้แล้ว ปราสาทหมอนเจริญจึงเป็นร่องรอยหลักฐานที่แสดงอิทธิพลวัฒนธรรมขอมที่ปรากฏขึ้นในดินแดนแถบนี้
หลักฐานทางโบราณคดี
ฐานประติมากรรมรูปเคารพศิลาทราย ตั้งอยู่บนปราสาท ซึ่งปัจจุบันมีฐานอุโบสถครอบทับอยู่ และก้อนหินทรายขนาดใหญ่มากบางชิ้นยาวถึง 3 เมตรฐานประติมากรรมรูปเคารพศิลาทราย ตั้งอยู่บนปราสาท ซึ่งปัจจุบันมีฐานอุโบสถครอบทับอยู่ และก้อนหินทรายขนาดใหญ่มากบางชิ้นยาวถึง 3 เมตร
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันปราสาทหมอนเจริญยังไม่ได้รับการบูรณะทั้งนี้เนื่องจากมีสภาพที่ถูกทำาลายไปมาก และมีโครงการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ซ้อนทับซึ่งกรมศิลปากรได้ระงับการก่อสร้าง ดังกล่าวไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว
สภาพพื้นที่มีต้นไม้และวัชพืชปกคลุมปราสาทหมอนเจริญเดิมคงมีลักษณะเป็นปราสาทขอมหลังเดียว ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ซึ่งมีคูน้ำล้อมรอบ เดิมมีลักษณะแบบปราสาทขอมโดยทั่วไปคือ สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูและทับหลังทำด้วยศิลาทราย สภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 11 x 14.35เมตร ต่อมาทางวัดได้สร้างอุโบสถซ้อนทับลงไปแทนที่อย่างไรก็ตามยังพบหลักฐานชิ้นส่วนเครื่องประกอบสถาปัตยกรรม ได้แก่ ก้อนศิลาทราย และศิลาแลงตั้งอยู่รายรอบคูน้ำล้อมรอบพื้นที่ องค์ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 90 x 94 เมตร เว้นทางด้านทิศตะวันออกไว้เป็นทางเข้า-ออก ยังปรากฏร่องรอยให้เห็นชัดเจนทุกด้าน