ชื่อแหล่ง : พิพิภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์ Surin National Museam
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52
ที่อยู่
ถนนสุรินทร์-ปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°51′00″องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°28′48″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทอิฐ
อายุ
ไม่มีระบุ
วัตถุประสงค์
เทวสถาน ปัจจุบันเป็นที่รวบรวมโบราณวัตถุเพื่อจัดแสดง
ทิศทางการวางตัว
1.5 องศาตะวันออก
ความสาคัญของแหล่ง
เมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ข้าราชการและประชาชนได้ร่วมกันรวบรวมโบราณวัตถุในจังหวัดสุรินทร์มาจัดแสดงไว้ที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ และต่อมาได้ย้ายมาจัดแสดงที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าชม หลังจากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2535 กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะปรับปรุงและจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำเมืองให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จึงดำเนินการขอใช้ที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์บริเวณกิโลเมตรที่ 4 ถนนสุรินทร์-ช่องจอม เป็นสถานที่สร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ และเริ่มดำเนินการปลายปี พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และจัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรม เนื้อหาการจัดแสดง แบ่งออกเป็น 5 เรื่อง
1. ธรรมชาติวิทยา จัดแสดงเรื่องกายภาพของจังหวัดสุรินทร์ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณีวิทยา ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ และเรื่องข้าว เนื่องจากจังหวัดสุรินทร์เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีแห่งหนึ่ง
2. ประวัติศาสตร์โบราณคดี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการของคนที่อยู่อาศัยในจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ถึงสมัยอยุธยา จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี ลพบุรี และล้านช้าง ที่พบในจังหวัดสุรินทร์ มีการจำลองวิถีชีวิต พิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สอง โบราณสถานจำลอง และวีดีทัศน์เรื่อง สุรินทร์ถิ่นอารยธรรมขอม เพื่อการเรียนรู้เรื่องราวด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของจังหวัดสุรินทร์
3. ประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุรินทร์ เริ่มจากสมัยอยุธยาตอนปลายถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จัดแสดงที่ตั้งชุมชนโบราณ พัฒนาการด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ประชากร และการศึกษา โดยการจำลองภาพเหตุการณ์สำคัญ อาทิ การจับช้างเผือก วิถีชีวิตบริเวณสถานีรถไฟ เพื่อเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ ให้แจ่มชัดขึ้น
4. ชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงเรื่องวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ กูย กลุ่มชนที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้าง เขมรกลุ่มชนที่มีความโดดเด่นด้านการทอผ้า การทำเครื่องเงิน ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน และลาวกลุ่มชนที่อพยพเข้ามาเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 โดยการจำลองบ้านเรือน วิถีชีวิต ภาพถ่ายและภาพวาดเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพความเป็นอยู่ มีคอมพิวเตอร์ทัชสกรีนต์ให้ผู้ชมค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม
5. มรดกดีเด่น จัดแสดงเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ การทำเครื่องประดับเงิน การทอผ้าไหม ดนตรี การแสดง การละเล่นพื้นบ้าน และวิถีชีวิตคนเลี้ยงช้างซึ่งจัดแสดงแยกส่วนในห้องสุรินทร์ดินแดนช้าง โดยมีวีดิทัศน์ประกอบการจัดแสดงแต่ละเรื่อง
หลักฐานทางโบราณคดี
1.อาคารเก่า
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์เกิดจากความต้องการสร้างแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสได้เข้าชมโบราณวัตถุที่ขุดพบในเขตจังหวัดสุรินทร์ การสร้างแหล่งการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างการจัดแสดงที่น่าสนใจและจูงใจผู้เข้าชม ทำให้บางส่วนต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเสนอ การออกแบบสถานที่ที่ดูทันสมัยก็รวมอยู่ในปัจจัยที่จะสามารรถสร้างความสนใจให้แก่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์