slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor 2024
SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR
Prasat Surin

ชื่อแหล่ง : เนินดินบ้านสลักได Sa Luk Dai Mound

ขึ้นทะเบียน

24-12-2536

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 110 ตอนที่ 220

ที่อยู่

บ้านสลักได ตำบลสลักได อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°51′00″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°32′24″ องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทศิลาแลง

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 23-24

วัตถุประสงค์

ป้องกันข้าศึก

ทิศทางการวางตัว

1.9 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

จังหวัดสุรินทร์ พบหลักฐานการอยู่ของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งมีการใช้เครื่องมือเหล็กแล้ว มีอายุราว 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะทางตอนเหนือของจังหวัดแถบอำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอรัตนบุรี โดยอาศัยกลุ่มทุ่งกุลาร้องไห้ และแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำชี โดยเฉพาะหลักฐาน ที่แสดงถึงประเพณีการฝังศพครั้งที่ 2 คือการนำกระดูกของผู้ตายมาใส่ภาชนะดินเผาแล้วนำไปฝังอีกครั้ง สันนิษฐานว่าประเพณีความเชื่อนี้เกิดจากการฝังศพ แบบนอนหงายเหยียดยาวก่อนแล้วจึงพัฒนาเป็นนำกระดูกใส่ภาชนะต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงมีพิธีการเผาศพขึ้น

กลุ่มชนในสมัยนี้มีเทคโนโลยีค่อนข้างสูงการใช้เครื่องมือเหล็ก ทำให้การใช้ประโยชน์จากพื้นที่อยู่อาศัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การขุดคูน้ำคันดินจัดระบบชลประทาน ซึ่งยังปรากฏให้เห็นในชุมชนโบราณกว่า 59 แห่ง โดยชุมชนมักจะตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ชุมชนโบราณบ้านสลักได อำเภอเมือง โดยชุมชนโบราณสลักได เป็น 1 ในเมืองหน้าด่านเมืองเมืองปทายสมัน (สุรินทร์ในปัจจุบัน) มีแผนผังชุมชนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนินดินขนาดใหญ่ โดยรอบคูเมือง คันดินล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชุมชนโบราณ คำว่า “สลักได” เป็นภาษาเขมรแปลว่า สักข้อมือ จึงทำให้สันนิษฐานว่า ชุมชนโบราณทั้ง 2 แห่งนี้จะต้องเป็นสถานที่ซึ่งทหารรักษาการเมืองไปตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องความปลอดภัย โดยการสร้างคูน้ำคันน้ำดินไว้เพื่อป้องกันข้าศึก และสัตว์ใหญ่ เป็นปราการด่านสำคัญในการสอดส่อง และเป็นกำแพงชั้นแรกสุดของเมืองประทายสมันต์(เมืองสุรินทร์ปัจจุบัน)

หลักฐานทางโบราณคดี

1.คูเมือง คันน้ำ

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏจากสภาพปัจจุบันเกิดจากการขยายตัวของชุมชน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ การขยายของชุมชนทำให้เกิดการปลูกสร้างบ้านเรือน ขยายออกมาจนรุกล้ำบริเวณคูเมืองเดิมบางส่วนของชุมชนโบราณ ทำให้ร่องรอยทางภูมิศาสตร์ได้รับผลกระทบบางส่วนถูกทับถม บางส่วนถูกทำลาย จึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปรงตามสภาพปัจจุบัน

แผนที่

อัลบั้มภาพ