ชื่อแหล่ง : ปราสาทตาเมือนโต๊จ Prasat Ta Muanh Od
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3712
ที่อยู่
บ้านหนองคันนา ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°21′00″องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°16′12″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทศิลาแลง
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 18 (บายน)
วัตถุประสงค์
อโรคยาศาลา (โรงพยาบาล)
ทิศทางการวางตัว
8.9 องศาตะวันตก
ความสาคัญของแหล่ง
“โต๊จ” ในภาษาเขมร แปลว่า “เล็ก” เป็นอโรคยาศาล สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (กรมศิลปากร 2533 : 49) ยังคงสภาพเกือบจะสมบูรณ์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขยื่นทางด้านหน้า ก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีบรรณาลัยอยู่ทางด้านหน้าเยื้องไปทางขวาขององค์ปรางค์ ล้อมรอบด้วยกำแพงก่อศิลาแลงเช่นเดียวกัน มีซุ้มประตู (โคปุระ) อยู่ด้านหน้า คือ ด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว นอกกำแพงด้านหน้ามีสระน้ำเช่นเดียวกับ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ (คณะกรรมการฝ่าย ประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ 2544 : 55) ตรงห้องกลางของโคปุระได้พบศิลาจารึก 1 หลัก จารึกด้วยอักษรขอมภาษาสันสกฤต เป็นจารึกซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างไว้ประจำอโรคยาศาลแห่งนี้ มีข้อความเช่นเดียวกับจารึกที่พบที่ อโรคยาศาลแห่งอื่น ๆ คือ กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ประทานความไม่มีโรคแก่ประชาชนผู้นับถือ และกล่าวถึงการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ เช่น แพทย์ ผู้ดูแลสถานพยาบาล ปัจจุบันจารึกหลักนี้เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี (กรมศิลปากร 2533 : 51)
หลักฐานทางโบราณคดี
1.ตัวปราสาท 2.สระบาราย
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นปราสาทองค์เดียวตั้งภายในบริเวณพื้นที่พิเศษแถบชายแดนไทย – กัมพูชา ปัจจุบันสภาพทางกายภาพทรุดโทรม ป้ายระบุตำแหน่งชำรุด ขาดการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดี อยู่ห่างจากเขตชุมชน เส้นทางและการเข้าถึงแหล่งยากลำบาก ภูมิทัศน์ถูกจัดการโดยทหารรักษาดินแดน มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นระยะ จากความสำคัญของแหล่ง ปัจจุบันมีสภาพที่ทรุดโทรม