ชื่อแหล่ง : ปราสาทหมื่นศรีน้อย Prasat Hmuen Sri Noiy
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3712
ที่อยู่
บ้านหมื่นศรีกลาง ตำบลหมื่นศรี อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°58′48″ องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°57′36″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทอิฐ
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 23-24
วัตถุประสงค์
พุทธสถาน
ทิศทางการวางตัว
10.8 องศา
ความสาคัญของแหล่ง
โบราณสถานประกอบด้วยซากอาคารของวิหารหรือโบสถ์และเจดีย์ธาตุก่อด้วยอิฐฉาบปูน และมีเครื่องประกอบไม้เป็นบางส่วน เดิมตัวอาคารของวิหารหรือโบสถ์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ สภาพส่วนใหญ่ของเจดีย์พังทลายลงมาเป็นส่วนมาก จนมีสภาพคล้ายกองดินขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้ขุดแต่งเมื่อปีงบประมาณ 2530 เมื่อพิจารณาจากหลักฐานต่างๆที่เหลืออยู่ ได้แก่ รูปทรงของฐาน กรอบและซุ้มโค้งประตูตลอดจนการเรียงอิฐ สันนิษฐานว่า โบราณสถานแห่งนี้คงได้รับการซ่อมแซมและดัดแปลงในสมัยอยุธยาตอนปลาย (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 :หน้า57)
หลักฐานทางโบราณคดี
1.เจดีย์ 1 องค์ 2.ซุ้มเจดีย์
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทหมื่นศรีน้อย เป็นหมู่บริหารที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากร ในช่วงแรก ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร ลักษณะวิหารในปัจจุบันทรุดโทรม ด้านกายภาพ ความทรุดโทรมที่เกิดจากการขาดการดูแล เนื่องจากตัวปราสาทอยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน ตั้งแต่อยู่เขตของสำนักสงฆ์ โดยรอบเป็นป่าทึบ เส้นทางในการเดินทางไม่ค่อยสะดวก ป้ายระบุแหล่งไม่ปรากฏ ไปปัจจัยที่ทำให้แหล่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ด้านวัฒนธรรม ปรากฏสิ่งของบูชาอยู่รอบๆ แหล่งสันนิฐานว่า น่าจะเป็นสิ่งของบูชาจากผู้ที่มาปฏิบัติธรรม ไม่ปรากฏการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวหรือการสร้างการรับรู้แก่นักท่องเที่ยว