ชื่อแหล่ง : ปราสาทศีรขรภูมิ Prasat Sri Kra Phumi
ขึ้นทะเบียน
30-06-2524
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 98 ตอนที่ 104
ที่อยู่
บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
14°56′24″ องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°48′00″ องศาตะวันออก
ประเภท
ปราสาทอิฐ
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน)
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
3.9 องศาตะวันตก
ความสาคัญของแหล่ง
ลักษณะตัวปราสาทตั้งอยู่บนเนินดิน ประกอบด้วยปราสาทอิฐจำนวน 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีคูน้ำรูปตัวยู หันไปทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางเข้า มีบันได้ขึ้นลงทำด้วยฐานศิลาแลง ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลาง มีปราสาทขนาดเล็กอยู่ประจำทั้ง 4 มุม ปราสาททุกหลังมีประตูเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ลักษณะการก่อสร้างและรูปแบบสถาปัตยกรรมเหมือนกันทุกหลัง คือ ไม่มีมุขด้านหน้า ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นหินทราย หน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น ทับหลังของปรางค์ประธานตรงกลาง จำหลักเป็นรูปศิวนาฏราชยืนอยู่บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัว สองข้างประตูทางเข้าสลักเป็นรูปนางอัปสรยืนถือดอกบัว ส่วนปราสาทบริวารนั้นพบทับหลัง 2 แผ่น เป็นเรื่องกฤษณาวตาร แผ่นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างและคชสีห์ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะประลองกำลังกับคชสีห์ ซึ่งทับหลังที่พบ ณ ปราสาทแห่งนี้มีลักษณะสมบูรณ์มากและเป็นประติมากรรมที่มีค่ายิ่งของ จ.สุรินทร์ รอบ ๆ บริเวณมีสระน้ำ 3 สระ ลวดลายบนทับหลังและเสาประดับ มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะขอมแบบบาปวนและแบบนครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 จึงสันนิษฐานว่าปราสาทหลังนี้คงสร้างขึ้นในสมัยดังกล่าว และเดิมคงสร้างเป็น ศาสนสถานในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ต่อมาได้ถูกดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23) เนื่องจากพบศิลาจารึกอักษรธรรมอีสาน ภาษาไทย-บาลี ที่ผนังประตูปราสาทบริวารหลังตะวันตก เล่าถึงการบูรณะปราสาทแห่งนี้ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 52-53)
หลักฐานทางโบราณคดี
1.ตัวปราสาท 5หลัง 2.ทับหลัง 3.สระบาราย 4.โคปุระ
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทศรีขรภูมิ เป็นปราสาทใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดบนเส้นทางการเดินทางของขอมเรืองอำนาจ เป็นเทวสถานสำคัญที่มีความสำคัญในความเชื่อของศาสนาฮินดู ด้านกายภาพ ได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากร เป็นระยะ ทำให้ตัวปราสาทยังคงความสมบูรณ์อย่างมาก มีการส่งเสริม สนับสนุน จากชุมชน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดสำคัญที่ส่งเสริมให้เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ มีการบริหารจัดการจากภาคส่วนต่างๆ ตามลำดับ มีป้ายระบุข้อมูล และเส้นทางชัดเจน ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากปราสาทศรีขรภูมิเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสุรินทร์ ดังนั้นการสื่อความหมายของแหล่งจำสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่า จากความศรัทธา ความเชื่อ และความหมายของเทวสถาน ประกอบการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว การสร้างกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางความศรัทธา และความเชื่อ แล้วด้านท่องเที่ยวกับกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆโดยมีกรมศิลปากรกำกับพื้นที่ การบริหารการจัดการเหล่านี้ อนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี