slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor slot gacor 2024
SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR SLOT GACOR
Prasat Surin

ชื่อแหล่ง : ปราสาทพระปืด Prasat Pra Perd

ขึ้นทะเบียน

29-11-2545

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 117

ที่อยู่

บ้านพระปืด ตำบลบ้านแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°57′36″ องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°35′24″ องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทอิฐ

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 23-24

วัตถุประสงค์

พุทธสถาน

ทิศทางการวางตัว

6.8 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

ตั้งอยู่ภายในปราสาทแก้ว บ้านพระปืด ตำบลแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ ก่อด้วยอิฐ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระปืด”  สภาพแวดล้อมโดยรอบปราสาท มีลักษณะเป็นชุมชนโบราณบ้านพระปืด  มีคูน้ำล้อมรอบ ห่างจากที่ว่าอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 5 กิโลเมตร  วัดปราสาทแก้ว หรือวัดพระปืด วัดที่มีตำนานยาวนาน ตามตำนานเล่าว่ามีชาวบ้านจอมพระไปขุดเผือก ขุดมันในป่า แล้วมีสัตว์มาเลียแผ่นหลัง ชาวบ้านคนนั้นตกใจจึงขว้างเสียมไปถูกสัตว์ตัวนั้น ทำให้สัตว์ตัวนั้นวิ่งหนีไป มองไวๆ เห็นเป็นกวางขนทอง จึงได้วิ่งตามไป ทว่าพบแต่รอยเลือดเท่านั้น ชาวบ้านคนนั้นเดินตามรอยเลือดจนหายไปก็ได้พบปราสาท และพบพระพุทธรูปด้านในก็ตกใจเลยอุทานว่า “เปรี๊ยะ ปืดๆ” เพราะพระพุทธรูปนั้นมีเลือดออกมาจากข้อเท้า จึงเชื่อว่า กวางทองตัวนั้นก็คือพระพุทธรูปแปลงกายมานั่นเอง เปรี๊ยะปืด เป็นภาษากวย แปลว่า พระใหญ่ จากพระเปรี๊ยะปืดที่ออกเสียงยาก ทำให้เสียงเพี้ยนมาเป็น “พระปืด” ที่ประดิษฐานอยู่ในวัดปราสาทแก้วในปัจจุบัน

หลักฐานทางโบราณคดี

ปราสาทพระปืด ตั้งอยู่ภายในเมืองโบราณที่มีคูนํ้าคันดินล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม ในปี พ.ศ.2546 ชาวบ้านได้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ ฝังร่วมกับภาชนะดินเผา เครื่องมือเหล็ก และเครื่องสำริดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็กอายุราว 2,500-1,500 ปีมาแล้วภายในบริเวณเมืองโบราณแห่งนี้ ได้พบเศษภาชนะดินเผาทั้งแบบเนื้อดินธรรมดาสีขาว (แบบทุ่งกุลา) ภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง เคลือบสีนํ้าตาล (แบบเครื่องถ้วยลพบุรี)เครื่องมือเหล็ก ประติมากรรมสำริด ได้แก่ ประติมากรรมสำริดรูปสตรียืนถือดอกบัวทั้งสองพระหัตถ์ สังข์สำริดปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์สำหรับโบราณวัตถุที่แสดงถึงชุมชนท้องถิ่นในวัฒนธรรมแบบล้านช้างคือ พระพุทธรูป “พระปืด” ศิลาทรายสีแดง ขัดสมาธิเพชร (พระเศียรปั้นต่อใหม่) และพระพุทธรูป “พระเสี่ยงทาย” ขัดสมาธิราบ พระเศียรทรงเทริด รัศมีรูปกลีบบัวหงาย

1.ตัวปราสาท             2. เทวรูป

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาทแก้ว บ้านพระปืด ต้งอยู่ในบริเวณวัดปราสาทแก้ว ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ ปราสาทแก้ว เนื่องจากตั้งแต่ในบริเวณชุมชนโบราณ สันนิฐานว่า มีความเชื่อมโยงกับปทายสมัน กลุ่มชุมชนโบราณในจังหวัดสุรินทร์ ในเชิงศาสนา พระปืด เป็นพระที่มีชื่อเสียงในแทบนี้ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในองค์เจดีย์ จึงเป็นปัจจัยด้านความเชื่อที่ก่อให้เกิดการดูแลรักษาโบราณสถานอย่างดีจนถึงปัจจุบัน

แผนที่

อัลบั้มภาพ