ชื่อแหล่ง : บ้านบัลลังก์ และอุ้มหลักหินบัลลังก์ Ban Lang & Ban Lang Throne
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52
ที่อยู่
บ้านบัลลังก์ ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
15°19′48″ / 15°19′48″องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°41′24″ / 103°42′00″องศาตะวันออก
ประเภท
ชุมชนโบราณ และศิลาแลง
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน)
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
19.6 องศาตะวันออก
ความสาคัญของแหล่ง
พื้นที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องรอยของคูเมือง 1 ชั้น โดยด้านทิศเหนือติดกับน้ำแม่มูล ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยมีการตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนของคนในชุมชน ภายในชุมชนพื้นที่ติดกับวัดบัลลังก์ มีแท่นศิลาขนาด เส้นผ่านศูนย์ 50 เซนติเมตร สูงประมาณ 120 เซนติเมตร ชาวบ้านในชุมชนเรียกว่า “ศาลตาบัลลังก์”เป็นลักษณะเป็นฐานของบัลลังก์ เชื่อว่าในตำนานทราบว่า อ้างจากนิทานเชื่อมโยงกับปราสาทนางบัวตูมในอำเภอท่าตูม โดยเป็นบัลลังก์ขอกษัตริย์ คือ ท้าวโสวัฒน์ ที่ล่องเรือมาบริเวณแม่น้ำมูล เพื่อตามหานางบัวตูม ใช้พื้นที่นี้เป็นที่พักแรมปัจจุบันชุมชนร่วมมือกันสร้างเป็นศาลในลักษณะเทวสถาน วิหารขนาดใหญ่ เพื่อประดิษฐานฐานบัลลังก์ เพื่อให้ชุมชนได้บูชา และเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชุมชน
หลักฐานทางโบราณคดี
1.ศิลาแลง
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเกิดจากวัดและชุมชน ทางด้านกายภาพที่เป็นจุดที่ตั้งปัจจุบันเดิมเป็นพื้นที่วัด ต่อมาได้มอบให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลทำให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ จากความเชื่อและความศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับบัลลังก์ ทำให้ปัจจุบันชุมชนได้สร้างศาลตาบัลลังก์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน เป็นหลักบ้านหลักเมืองมีการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงทุกปี นอกจากนี้ประชาชนที่ศรัทธาได้แวะเวียนเข้ามาทำบุญ กราบไหว้ สักการะตลอดทั้งปี