ชื่อแหล่ง : ปราสาทบ้านสนม Prasat Ban Sa Nom
ขึ้นทะเบียน
08-03-2478
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 52
ที่อยู่
บ้านสนม ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
ละติจูด
15°12′00″ องศาเหนือ
ลองจิจูด
103°46′12″ องศาตะวันออก
ประเภท
สิ้นสภาพ (ฐานศิลาแลง)
อายุ
พุทธศตวรรษที่ 16-17
วัตถุประสงค์
เทวสถาน
ทิศทางการวางตัว
9.4 องศาตะวันออก
ความสาคัญของแหล่ง
เมื่อปี พ.ศ. 2492 มีการก่อสร้างอุโบสถครอบตัวปราสาทไว้ชิ้นส่วนของปราสาทที่เป็นศิลาแลงหินทรายและเทวรูปต่างๆนำมากองไว้ทางทิศใต้ของอุโบสถปัจจุบันไม่สามารถระบุได้ว่าลักษณะรูปทรงตัวปราสาทมีลักษณะอย่างไรเห็นเพียงก้อนหินศิลาแลง เทวรูปหินทรายและอื่นๆวางกองอยู่จำนวนประมาณ 50-60 ก้อน ทางวัดได้นำโบราณวัตถุดังกล่าวมาจัดตั้งไว้สักการบูชา ซึ่งเรียกว่า ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ
หลักฐานทางโบราณคดี
1.เทวรูปหินทราย 2.แทงหินทรายสลักเทวรูป 3.หินทราย
ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
ปราสาทสนม เชื่อว่า อยู่ตั้งอยู่ในบริเวณวัดธาตุ ภายในตัวเมืองอำเภอสนม ปัจจุบันไม่ปรากฏลักษณะของตัวปราสาท เหลือแต่เพียงกองหินทรายจำนวนหนึ่งภายในบริเวณข้างกับอุโบสถวัดธาตุ ปัจจัยที่ส่งผลกับสภาพโบราณสถาน
ด้านกายกาย ปราสาทสนมเป็นปราสาทที่ไม่เหลือรูปแบบเชิงโครงสร้างของตัวปราสาท ซึ่งเกิดจากการไม่ได้มีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม โดยปัจจุบันยังคงเหลือเทวรูปหินทรายที่ถูกนำมาเก็บจัดวางไว้ในบริเวณ ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ ในบริเวณวัดธาตุข้างกับพระอุโบสถหลังใหญ่ ไม่ปรากฏป้ายระบุแหล่งโบราณคดีส่วนของโบราณสถานเป็นส่วนหนึ่งของศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ ปรากฏมิติด้านวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อของชุมชนที่สัมพันธ์กับเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ ทำให้ส่วนของโบราณสถานกลายเป็นสิ่งมงคล ที่ชุมชนเคารพนับถือด้วย