ชื่อแหล่ง : ปราสาทจอมพระ Prasat Chom Pra

ขึ้นทะเบียน

01-09-2562

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 52 ตอนท่ี 75 หน้า 3713

ที่อยู่

บ้านดงบัง ตาบลจอมพระ อาเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

15°06′00′′องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°36′36′′องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทหินทราย

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 18 (บายน)

วัตถุประสงค์

อโรคยาศาลา (โรงพยาบาล)

ทิศทางการวางตัว

5.3 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

ปราสาทจอมพระ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดป่าปราสาทจอมพระ มีลักษณะของส่ิงก่อสร้างที่เรียกว่า อโรคยศาล มีโครงสร้างที่ยังสมบูรณ์อยู่มาก อาคารต่าง ๆ ก่อด้วยศิลาแลงและใช้หินทรายประกอบ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะแบบอโรคยศาลดังท่ีพบ ในท่ีอ่ืน คือ ปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมุขหน้า บรรณาลัยหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต้ังอยู่ ทางด้านหน้า มีกาแพงล้อมรอบพร้อมซุ้มประตูรูปกากบาทและสระน้านอกกาแพง (ศิริ ผาสุก และ คณะ 2536 : 32) โบราณวัตถุสาคัญที่พบได้แก่ เศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 1 เศียร และรูปพระ วัชรสัตว์ 1 องค์เช่นเดียวกับที่พบท่ีอโรคยศาลในอาเภอพิมายและที่พระปรางค์วัดกู่แก้ว จังหวัดขอนแก่น โบราณวัตถุเหล่านี้เป็นรูปเคารพในพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน มีลักษณะตรงกับศิลปะขอมแบบบายน (กรมศิลปากร 2533 : 44) ซ่ึงเป็นแบบศิลปะท่ีเจริญอยู่ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

หลักฐานทางโบราณคดี

ศิลาจารึก (จารึกสุรินทร์ 2) เป็นอักษรขอม ภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษท่ี 18 มีสภาพ ชารุด แต่เนื้อความท่ีเหลืออยู่จับความได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างอโรคยศาล เป็นเนื้อหาเดียวกันกับจารึกปราสาทตาเมือนโต๊จจากการขุดแต่งโบราณสถานโดยกรมศิลปากร เม่ือปี พ.ศ.2530 พบโบราณวัตถุที่สาคัญ คือ พระโพธิสัตว์-อวโลกิเตศวร 1 เศียร และพระวัชรสัตว์ 1 องค์ และปี พ.ศ.2552 กรมศิลปากรได้ทาการขุดแต่งอีกครั้ง พบหลักฐานท่ีสาคัญคือ ช้ินส่วนพระพุทธรูปนาคปรก1. ตัวปราสาท 2.ระเบียงคต 3.โคปุระ 4.สระบาราย

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาทจอมพระเป็นโบราณสถานท่ีมีพื้นที่ในเขตของวัดป่าปราสาทจอมพระ จากหลักฐาน ปรากฏร่องรอยของการบูรณะจากกรมศิลปากรทาให้ตัวปราสาทยังอยู่ในสภาพท่ีสมบูรณ์ ปัจจัยที่มีผล ต่อการเปล่ียนแปลง

ด้านกายภาพ ปราสาทจอมพระ เป็นปราสาทที่อยู่ภายในตัวอาเภอจอมพระ มีป้ายระบุ ตาแหน่งชัดเจน มีลักษณะที่ตั้งโดดเด่นเน่ืองจากติดอยู่กับวัดป่าปราสาทจอมพระ และศาลเจ้าจอม พระ ส่งผลทาให้ตัวโบราณสถานได้รับการดูแลอย่างเหมาะ

ด้านมิติทางวัฒนธรรม ปราสาทจอมพระ ทาให้ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ กล่าวได้ว่าเป็นปราสาทบนเส้นทางขอม โดยลักษณะพิเศษของปราสาทรูปแบบอโรคยศาล (โรงพยาบาล) ทาให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมจานวนมาก ส่งผลต่อการบูรณะ พัฒนา พ้ืนท่ีเพื่อให้ เหมาะสมกับจัดการการท่องเที่ยวเป็นระยะ ทาให้สภาพของโบราณสถานในปัจจุบันมีความสมบูรณ์

แผนที่

อัลบั้มภาพ