ชื่อแหล่ง : กำแพงเมือง คูเมืองสุรินทร์ Wall & Moat Of Pathaisaman

ขึ้นทะเบียน

19-09-2521

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 85 ตอน 98

ที่อยู่

ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°52′48″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°29′24″ องศาตะวันออก

ประเภท

คูเมือง

อายุ

พุทธศักราช 23-24

วัตถุประสงค์

ป้องกันข้าศึก – กำหนดอาณาเขต

ทิศทางการวางตัว

6.5 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

เมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์ )เมืองโบราณขนาดใหญ่ จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า สันนิฐานว่า เป็นเมืองที่เกิดขึ้นก่อนสมัยปลายอยุธยาแล้วมีการทิ้งร้างไป กระทั่งมีการตั้งเป็นเมืองในช่วงสมัยอยุธยา โดยพระยาสุรินทร์ภักดิ์ศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมือง ลักษณะผังเมืองสุรินทร์เป็นวงรี มีคูเมือง กำแพงเมืองล้อมรอบสองชั้น ในลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 1.28 x 2.6 กิโลเมตร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอนที่ 98 วันที่ 19 กันยายน 2521 ในปัจจุบันพบคูเมืองทั้งหมด 11 จุด รอบเมืองสุรินทร์ ทั้งกำแพง – คูเมืองคันดินชั้นในและชั้นนอก

หลักฐานทางโบราณคดี

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

สาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกำแพงเมือง-คูเมืองสุรินทร์ คือ การพัฒนาจากการขยายเมือง การปลูกสร้างพื้นที่สาธารณะและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย การแสวงหาพื้นที่ทำกินของประชาชน ส่งผลให้สภาพปัจจุบันของกำแพง-คือเมือง บางส่วนถูกรุกล้ำทำลายเสียหายไป หลายจุดถูสร้างทับด้วยอาคารสมัยใหม่ดังสภาพปัจจุบัน

แผนที่

อัลบั้มภาพ