ชื่อแหล่ง : ปราสาทเมืองที Prasat Muang Tee

ขึ้นทะเบียน

08-03-2478

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3712

ที่อยู่

บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°53′24″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°39′36″ องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทอิฐ

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 23-24

วัตถุประสงค์

พุทธสถาน

ทิศทางการวางตัว

8.9 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

เป็นปราสาทรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ก่อด้วยอิฐและฉาบปูน 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปราสาทหลังกลางมีขนาดใหญ่และสูงกว่าปราสาทองค์อื่น ๆ โดยมีเรือนธาตุเป็น 3 ชั้น และมีบันไดยื่นออกจากเรือนธาตุทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบันปราสาทบริวารเหลือเพียง 2 หลัง ไม่สามารถกำหนดอายุการก่อสร้างได้ สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะได้รับการซ่อมแซมใหม่ ในราวสมัยอยุธยาตอนปลายหรือสมัยกรุงธนบุรี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 :หน้า58)

หลักฐานทางโบราณคดี

1.ตัวปราสาท 3 หลัง

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาทเมืองที เป็นปราสาทหนึ่งที่มีการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างดี ปัจจัยหนึ่งน่าจะเกิดจากลักษณะทางด้านกายภาพ ที่ตั้งของปราสาทเมืองที อยู่ไม่ไกลจากถนนเส้นหนักมากนัก มีป้ายระบุตำแหน่งชัดเจน ตัวปราสาทได้รับการบูรณะจากกรมศิลปากรเป็นระยะ สภาพปัจจุบันยังคงสมบูรณ์ ปราสาทเมืองทีอยู่ในแผนการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากปราสาทอยู่ในบริเวณวัด ปรากฏร่องรอยความเชื่อ ความศรัทธา มีศาลบวงสรวงเป็นศาลาขนาดเล็ก อยู่บริเวณข้างๆโบราณสถาน แสดงถึงวัฒนธรรมเชิงศาสนาและพิธีต่างๆ ที่กระทำด้วยมีปราสาทเมืองทีเป็นศูนย์กลางความเชื่อ

แผนที่

อัลบั้มภาพ