ชื่อแหล่ง : ปราสาททนง Prasat Ta Nong

ขึ้นทะเบียน

09-04-2544

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 118 ตอนที่ 33ง.

ที่อยู่

บ้านปราสาททนง ตำบลปราสาททนง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°38′24″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°21′36″องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทศิลาแลง

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 16-17 (บาปวน)

วัตถุประสงค์

เทวสถาน

ทิศทางการวางตัว

1.2 องศาตะวันออก

ความสาคัญของแหล่ง

ปราสาททนงมีลักษณะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยอิฐปนหินทรายและศิลาแลงจำนวน 2 กลุ่ม ตั้งเรียงกันหันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามลำดับ คือ พลับพลา และปราสาทประธาน พลับพลาตั้งอยู่หน้าปราสาทประธาน มีสภาพชำรุดเหลือเพียงฐานบัวก่อด้วยศิลาแลง มีบันไดทางขึ้น-ลง 10 บันได ปราสาทประธาน ตั้งอยู่บนฐานปีกกาก่อด้วยศิลาแลง ทำให้สูงกว่าพลับพลา สภาพปราสาทประธานชำรุดมาก ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปราสาทประธานสำหรับประดิษฐานเทวรูปและมีบรรณาลัยหรือวิหาร 2 หลัง และที่สำคัญคือ พบทับหลังหินทรายแบบศิลปะเขมรสมัยบาปวน (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 16 ต้นพุทธศตวรรษที่ 17) จำนวนหลายชิ้น นอกจากนี้ใต้ฐานปราสาทแห่งนี้ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคเหล็กอายุ 2500-1500 ปี และแหล่งเตาถลุงเหล็กที่มีขี้ตะกรัน แร่เหล็กสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงอาจกล่าวได้ว่าในบริเวณบ้านปราสาทแห่งนี้ ได้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคเหล็ก ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จึงได้มีชุมชนวัฒนธรรมเขมรโบราณที่นับถือศาสนาฮินดูเข้ามาตั้งชุมชนพร้อมกับสร้างปราสาททนงขึ้นเป็นศาสนสถานประจำชุมชน (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 50)

หลักฐานทางโบราณคดี

กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะปราสาททนงเมื่อปี พ.ศ.2536 พบหลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ ร่องรอยของเตาถลุงเหล็กที่มีตะกรัน (ขี้แร่) เหล็กจำนวนมาก และโครงกระดูกมนุษย์ ซึ่งหันศีรษะไปทางทิศใต้ มีสิ่งของที่ฝังร่วมกับศพ ได้แก่ ภาชนะดินเผา ลูกปัดแก้ว แหวนสำริดและขวานเหล็ก กำหนดอายุอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายยุคเหล็ก อายุราว 2,500-1,500 ปีมาแล้ว

1.ตัวปราสาท            2 ทับหลัง

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาททนงเป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียน ป้ายระบุตำแหน่งแหล่งชัดเจน ถึงแม้จะอยู่ห่างจากตัวอำเภอปราสาท ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับรู้ของปราสาททนงน่าจะเกิดการแหล่งที่ตั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ทำให้เกิดการส่งเสริมการค้นคว้า การศึกษาหาความรู้ จากแหล่งโบราณคดี เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชุมชน ที่แตกต่างจากชุมชนอื่น ชูแหล่งโบราณคดี เพื่อผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ศักดิ์ศรี แสดงตัวตน งบประมาณ ส่งเสริมการเรียนรู้ ตำแหน่งทางวิชาการ หรือการท่องเที่ยว เป็นต้น ปัจจุบันทางกรมศิลปากรกำลังอยู่ระหว่างการบูรณะ จากการสอบถามนักโบราณน่าจะแล้วเสร็จช่วงกลางปี 2559 ด้านวัฒนธรรมจากการลงพื้นที่ทำให้เห็นถึงสำนึกร่วมของเจ้าของของชุมชน ความช่วยเหลือ ความภูมิใจกับโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในชุมชน ส่วนหนึ่งเพราะการศึกษา เนื่องจากในโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับแหล่งโบราณคดี จากปัจจัยต่างๆ ในข้างต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงในด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ของเด็กและคนในชุมชน เกิดจิตสำนึกรักในโบราณสถาน ทำให้เกิดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนา จากนโยบายพื้นฐานจากสถานการศึกษาด้วย 

แผนที่

อัลบั้มภาพ