ชื่อแหล่ง : ปราสาทบ้านไพล Prasat Ban Pile

ขึ้นทะเบียน

08-03-2478

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 หน้า 3712

ที่อยู่

บ้านปราสาท ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ละติจูด

14°42′00″องศาเหนือ

ลองจิจูด

103°24′00″ องศาตะวันออก

ประเภท

ปราสาทอิฐ

อายุ

พุทธศตวรรษที่ 18 (บายน)

วัตถุประสงค์

เทวสถาน

ทิศทางการวางตัว

1.6 องศาตะวันตก

ความสาคัญของแหล่ง

เป็นปราสาท 3 หลัง สร้างด้วยอิฐขัดเรียบ อยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันเรียงจากเหนือไปใต้ ผังของปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ปัจจุบันปราสาทอยู่ในสภาพค่อนข้างดีอยู่ 2 หลัง คือ หลังที่อยู่ด้านทิศเหนือและหลังกลาง โดยเฉพาะปราสาททิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ในตำแหน่งเดิม สลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย มือทั้งสองข้างยึดท่อนพวงมาลัยไว้ และมีทับหลังอีก 2 ชิ้นวางอยู่ที่พื้น สันนิษฐานว่าเป็นทับหลังของปราสาทหลังกลางและหลังทางทิศใต้ ชิ้นหนึ่งสลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย มือทั้งสองข้างยึดท่อนพวงมาลัยไว้ อีกชิ้นหนึ่งสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ นอกจากนี้พบคันดินรูปตัวแอล (L) อยู่ทางด้านเหนือและใต้ด้วย ส่วนสระน้ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ ต้นพุทธศตวรรษที่ 17

หลักฐานทางโบราณคดี

ทับหลังจำนวน 3 ชิ้น คือ ทับหลังจากปราสาทหลังกลาง สลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย ตรงเสี้ยวของท่อนพวงมาลัยจะแอ่นลงเล็กน้อย เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้นใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วนทับหลังจากปราสาทหลังเหนือ สลักภาพเทวดานั่งชันเข่าอยู่ในซุ้มเหนือหน้ากาลที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย และทับหลังจากปราสาทหลังใต้ สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณเหนือหน้ากาลที่กำลังคายท่อนพวงมาลัย เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้น ใต้ท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วน (ปัจจุบันจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์) และได้พบชิ้นส่วนบัวกลุ่มยอดปราสาท และแท่นสำหรับติดตั้งประติมากรรมรูปเคารพ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พื้นดินในบริเวณปราสาท

1.ตัวปราสาท            2.ทับหลัง       3.สระบาราย

ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

ปราสาทบ้านไพล เป็นที่มีพื้นที่ติดกับวัด ลักษณะทางกาย ป้ายระบุตำแหน่งแหล่งไม่ชัดเจน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่ง พื้นที่ภายในปราสาทอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมขาดการดูแล ภูมิทัศน์ตัวปราสาทและรอบบริเวณขาดการดูแล แม้พื้นที่จะติดกับวัด ยังปรากฏรั่วรอบขอบชิดพื้นที่แบ่งอย่างชัดเจน อาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะทางกายภาพของตัวปราสาท การดูแลอยู่ในระดับต่ำ ไม่ปรากฏการมีส่วนร่วมจากชุมชน ซึ่งทำให้ด้านวัฒนธรรม ไม่เกิดการจัดการอย่างชัดเจน ไม่ปรากฏการบูชา หรือกิจกรรมด้านความเชื่อ ความศรัทธา อันส่งผลให้สภาพของปราสาททรุดโทรมลงตามกาลเวลา

แผนที่

อัลบั้มภาพ